วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS-02-24-06-2552

สรุปเนื้อหา"Data Structure"

เรื่อง อาร์เรย์(Array)

อาร์เรย์ คือ แถวหรือลำดับของข้อมูลชนิดเดียวกันที่มีจำนวนหลายตัวนำมาเก็บในตัวแปรชื่อเดียวกัน แต่ต่างกันที่บอกลำดับ ซึ่งเรียกว่าตัวห้อย(subscript)

ในการเขียนโปรแกรมต้องเกี่ยวข้องกับจำนวนข้อมูลมาก ข้อมูลอาจเป็นชุดหรือเป็นกลุ่มหลายๆกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหลายตัว

การที่จะกำหนดชื่อตัวแปรที่แตกต่างกันเพื่อเก็บข้อมูลทุกๆตัว ย่อมเป็นการยุ่งยากและเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ต้องมาใช้ตัวแปรชุด หรือที่เรียกว่าอาร์เรย์(Array) กับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นชุดหรือเป็นกลุ่ม

ประเภทของอาร์เรย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

อาร์เรย์มิติเดียว(One dimension)

อาร์เรย์หลายมิติ(Multi dimension)

อาร์เรย์มิติเดียว(One dimension)

คือตัวเเปรอาร์เรย์ที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม มีลักษณะตำแหน่งที่ตั้งเป็นลักษณะแถวเดียว(วางตามแนวนอน) หรือคอลัมน์เดียว(วางตามแนวตั้ง)

#ชนิดของตัวแปร ชื่อของตัวแปร ขนาดของตัวแปรอาร์เรย์ เช่น int num [5]

รูปแบบการประกาศตัวแปรอาร์เรย์มิติเดียว

Data-type : ชนิดของตัวแปร

array-name : ชื่อของตัวแปร

Size : ขนาดของตัวแปรอาร์เรย์

อาร์เรย์หลายมิติ(Multi dimension)

คือ อาร์เรย์ตั้งแต่ 2 มิติเป็นต้นไป ใช้เก็บข้อมูลเป็นกลุ่มที่ข้อมูลนั้นใช้ตัวแปรชื่อเดียวกันแต่ต่างกันที่ตัวห้อย

(subscript) ซึ่งจะบอกลำดับความแตกต่างของตัวแปรว่าอยู่ในแถวใด ในคอลัมน์ที่เท่าไหร่ ลำดับใดในแถว

#ชนิดของตัวแปร ชื่อของตัวแปร ขนาดของแถว ขนาดของคอลัมม์ เช่น int num [2][3]


อาร์เรย์หลายมิติ จะมี 2 มิติ หรือ 3 มิติ จะแตกต่างจากอาร์เรย์มิติเดียวตรงที่ตัวห้อย คือ ตัวห้อยของอาร์เรย์จะมีขนาดของแถวและขนาดของคอลัมม์มาเป็นตัวบอกจำนวนสมาชิกด้วย รูปแบบของอาร์เรย์มิติหลายมิติ

*********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น