วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน iostream.h & stdio.h

เขียนโปรแกรมโดยใช้ stdio.h

#include
main()
{
char name [20];
char number [20];
char brand [20];
float price [20];
printf ("---------Buy Telephone---------\n");
printf ("name\n");
scanf("%s",&name);
printf ("number\n");
scanf ("%s",&number);
printf ("brand\n");
scanf ("%s",&brand);
printf ("price\n");
scanf ("%f",&price);
print ("---------Thank You---------");
}


เขียนโปรแกรมโดยใช้ iostream.h

#include
main ()
{
char name [20];
char number [20];
float brand [20];
char price [20];
cout <<"---------Buy Telephone---------\n";
cout <<"name:";
cin >>name;
cout <<"\nnumber:";
cin >> number;
cout << "\nbrand:";
cin >>brand;
cout <<"\nprice:";
cin >>price;
cout<< "---------Thank You---------";
}

DTS-05-22-07-2552

สรุปเนื้อหา "Data Structure"
เรื่อง Stack

สแตก (Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ที่มีคุณสมบัติที่ว่าการเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะทำที่ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (Top Of Stack)

ลักษณะที่สำคัญของสแตก คือ ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมาจากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (Last In First Out)


การดำเนินงานของสแตก
การทำงานของสแตกจะประกอบด้วย 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ

  1. Push คือ การนำข้อมูลไปใส่ในสแตก เช่น สแตก s ต้อใส่ข้อมูล i ในสแตก จะได้ push (s,i) คือ ใส่ข้อมูล i ลงไปที่ทอปของสแตก s
  2. Pop คือ การนำข้อมูลออกมาจากส่วนบนสุดของสแตก เช่น ต้องการนำข้อมูลออกจากสแตก s ไปไว้ที่ตัวแปร i จะได้ i = pop(s)
  3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก

การแทนที่ข้อมูลของสแตก

การแทนที่ข้อมูลของสแตกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์
  2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

  1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
  2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

การดำเนินงานเกี่ยวกับสแตก

การดำเนินงานเกี่ยวกับสแตกได้แก่

  1. Create Stack เป็นการจัดสรรหน่วยความจำ ได้แก่ Head Node และส่งค่าตำแหน่งที่ชี้ไปยัง Head ของสแตกกลับมา
  2. Push Stack เป็นการเพิ่มข้อมูลลงในสแตก กรณีที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตก
  3. Pop Stack เป็นการนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
  4. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก โดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก
  5. Empty Stack เป็นการตรวจสอบการว่างของสแตก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลออกจากสแตกที่เรียกว่า Stack Underflow
  6. Full Stack เป็นการตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดควมผิดพลดในการนำข้อมูลเข้าสแตกที่เรียกว่า Stack Overflow
  7. Stack Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกในสแตก
  8. Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก

การเข้าทีหลังออกก่อน

ตัวอย่างเช่น กระดาษรายงานที่เรียงกันทีละแผ่นเป็นปึ้งๆ เราจะต้องใช้แผ่นบนสุดก่อนเสมอ

*********************************************************************************

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS-04-15-07-2552

สรุปเนื้อหา "Data Structuer "
เรื่อง Linked List

ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^


โหนด (Note)



โครงสร้างแบบ Linked list แบ่งได้หลายแบบตามวิธีการชี้ไปยังโหนดต่างๆ ดังนี้
  1. Singly Linked list

  2. Doubly Linked list

  3. Multi-Linked list

ลักษณะของ Singly Linked list
หากทราบถึงโหนดแรกของ Linked list จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดใน Linked list ได้ เนื่องจากแต่ละโหนดจะมีพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป ดังนั้น Linked list ต้องมี external พอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดแรกของ Linked list จากรูปใช้พอยน์เตอร์ H (Head)



Linked list ประกอบไปด้วย node ซึ่งมีข้อมูลของแต่ละ node อยู่ประกอบไปด้วย ข้อมูลและตัวที่บ่งชี้ถึงโหนดต่อไป หากเป็นโหนดสุดท้ายจะมีค่าเป็น null ในภาษา java เราสามารถอ้างถึง reference ได้โดย object จึงสามารถที่จะสร้าง linked list ได้เช่นกันเหมือนกับภาษา C หรืออื่นๆ


Circular Linked list
ในปกติ Linked list เมื่อถึงโหนดสุดท้าย ค่าในฟิลด์ LINK หรือ โหนดถัดไปจะมีค่าเป็น NULL ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการเปลี่ยนให้ ค่า NULL ในฟิลด์ LINK เป็นตำแหน่งของโหนดแรกในลิสต์ หรือชี้ไปที่ต้นลิสต์ใหม่นั่นเอง ซึ่งเราจะเรียก Linked list แบบนี้ว่า Circular Linked listCircular Linked list ใช้ประโยชน์เมื่อต้องการให้ข้อมูลมีลักษณะเป็นวนรอบหรือลูป โดยแต่ละขั้นตอนจะมีการทำงานภายในลูป จะมีการย้ายตำแหน่งของพอยน์เตอร์ไปยังโหนดถัดไปใน Linked list ในลักษณะแบบวงกลม

Doubly Linked list

Doubly linked list ประกอบด้วยส่วนของ Info และ พอยน์เตอร์ที่ชี้ไป 2 ทิศทาง คือ ชี้ไปยังโหนดถัดไป และชี้ไปยังโหนดก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ 2 วิธี คือ การอ่านไปข้างหน้า และอ่านไปทางข้างหลัง

*********************************************************************************

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS-03-01-07-2552

สรุปเนื้อหาบทเรียน "Data Structure"
เรื่อง Pointer , set and string

Pointer คือตัวแปรที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ

การประกาศชนิดของตัวเเปรพอยน์เตอร์รูปแบบจะเป็น
type *variable-name

ต้องมีระบุตัวดำเนินการ เพื่อบอกว่าตัวแปรดังกล่าวเป็นตัวแปรแบบตัวชี้โดยตัวดำเนินการที่ใช้คือ
1. เครื่องหมาย
เป็นเครื่องหมายที่ใช้เมื่อต้องการให้เอาค่าตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาใช้
เช่น m = &count;

เป็นการนำตำแหน่งในหน่วยความจำของตัวแปร count ใส่ลงไปในตัวแปร (แบบพอยท์เตอร์)
m ซึ่งตำแหน่งที่ว่านี้เป็นตำแหน่งของตัวแปรนั้น ๆ ภายในของคอมพิวเตอร์

2. เครื่องหมาย
ซึ่งจะมีการใช้งานอยู่ 2 ลักษณะ
- ใช้ในการประกาศ parameter
เช่น void swap(int*p,int*q)
{
............................
}

- ใช้เป็น dereferencing operator จะใช้เมื่อต้องการนำค่าที่อยู่ในตำแหน่งที่ตัวแปรพอยน์เตอร์นั้นชี้อยู่ออกมาแสดง



set and string

โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง หรือ สตริงของอักขระเป็นข้อมูลที่ประกอบบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไปรวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ หรือโปรแกรมประเภทประมวลคำซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่าง

เช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความ ในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น

โดยจุดสิ้นสุดของ string จะจบด้วย \0 หรือ null character
เช่นchar a[]={'H','E','L','L','O','\0'};char a[]="hello";

เช่น "UNIVERSITY!" จะเป็นข้อมูลแบบสตริงยาว 10 อักขระ

สตริงกับอะแรย์สตริงคือ อะเรย์ของอักขระ เช่น char a[5]อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่องอักขระหรือ เป็นสตริงขนาด 5 อักขระก็ได้

*********************************************************************************